สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
หน้าแรก
|
แก้ไขข้อมูล
|
หัวข้อล่าสุด
|
สมาชิก
|
ค้นหา
|
FAQ
Username:
Password:
Save Password
All Forums
รวมบทความวิชาการน่ารู้
บทความรายการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
หนุมานประสานกาย เป็นทั้งสมุนไพรและไม้ประดับ
คำแนะนำ :
คุณต้องลงทะเบียนก่อนจึงจะสามารถโพสได้ครับ
Screensize:
640 x 480
800 x 600
1024 x 768
1280 x 1024
UserName:
Password:
Format Mode:
Basic
Help
Prompt
Format:
Font
Andale Mono
Arial
Arial Black
Book Antiqua
Century Gothic
Comic Sans MS
Courier New
Georgia
Impact
Lucida Console
Script MT Bold
Stencil
Tahoma
Times New Roman
Trebuchet MS
Verdana
Size
1
2
3
4
5
6
Color
Black
Red
Yellow
Pink
Green
Orange
Purple
Blue
Beige
Brown
Teal
Navy
Maroon
LimeGreen
Message:
* HTML is OFF
*
Forum Code
is ON
Smilies
Check here to include your profile signature.
T O P I C R E V I E W
admin
Posted - 15 Sep 2010 : 15:58:25
ปีงบประมาณ 2553
หนุมานประสานกาย เป็นทั้งสมุนไพรและไม้ประดับ
ธัญญลักษณ์ เหล็กพิมาย
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
เมื่อเอ่ยถึงชื่อนี้บางท่านอาจนึกไปถึง หนุมาน ตัวละครเอกของวรรณกรรมเรื่องเด่น รามเกียรติ์ แต่ไม่ใช่นะคะ หนุมานประสานกายที่ดิฉันจะกล่าวถึงในวันนี้เป็นพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่อยู่ในวงการไม้ประดับคงรู้จักกันดี เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นไม้ประดับยอดฮิตและเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ค่ะ ไม่เพียงแค่นั้น แต่หนุมานประสานกายยังจัดเป็นพืชสมุนไพรที่น่าสนใจอีกด้วยค่ะ
หนุมานประสานกาย หรือ สังกรณี หรือว่านอ้อยช้างตามที่ทางภาคเหนือเรียกกันนั้นเป็นไม้พุ่มแกมเถา สูง 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำใกล้พื้นดิน เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 6-8 ใบ รูปรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกเล็กสีขาวนวลออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ผล เป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก มีเนื้อ โดยรวมแล้วหาก ดูเผิน ๆ จะคล้ายใบของต้นหนวดปลาหมึกแคระ ซึ่งเป็นต้นไม้มีพิษ ดังนั้นก่อนนำไปใช้ควรถามผู้รู้ให้แน่ใจเสียก่อนนะคะว่าใช่ใบหนุมานประสานกายจริง ๆ และที่นิยมใช้คือใบที่มี 7 ใบย่อยค่ะ
สำหรับสรรพคุณอันโดดเด่น คือ ใช้กินรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็นแพ้อากาศ แพ้ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ แพ้กลิ่นต่าง ๆ กระทั่งแพ้อาหารทะเลและอื่น ๆ รวมทั้งสามารถรักษาโรคหืด ไอเรื้อรัง ไอมีเลือด ช่วยขับเสมหะและแก้เจ็บคอ อีกทั้งยังมีการนำหนุมานประสานกายไปใช้รักษาวัณโรคปอดอีกด้วย นอกจากนี้ ยังใช้รับประทานแก้ช้ำใน เจ็บหน้าอก แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ลดความดันโลหิต ใบสดยังใช้ตำพอกสมานแผล ห้ามเลือดแผลสดได้ผลดี จึงเป็นที่มาของชื่อ หนุมานประสานกาย จากสรรพคุณในหมวดหลังนี้แหล่ะค่ะ คือช่วยประสานร่างกายที่บอบช้ำให้คืนสู่ปกติ และจากสรรพคุณนี้เช่นกันทำให้ทางทีมวิจัยของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้วิจัยสกัดสารเอทานอลจากใบหนุมานประสานกาย เพื่อกระตุ้นกระบวนการหายของบาดแผลสุนัข โดยสารสกัดดังกล่าวสามารถเร่งการสร้างเนื้อเยื่อและเพิ่มการหดตัวของแผล ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นได้ด้วย
อย่างไรก็ตามเป็นธรรมดาสิ่งใดมีคุณมากก็อาจจะมีโทษแฝงอยู่ได้ สำหรับ หนุมานประสานกาย นั้นจัดได้ว่าเป็นยาแรงมีประสิทธิผลทางการรักษาเร็วและชัดเจนแต่ก็มีโทษด้วยเช่นกันค่ะ หากรับในปริมาณมากเกินไป เพราะจากการค้นคว้าของมหาวิทยาลัยมหิดลเองพบว่าสารออกฤทธิ์ต่างๆ ของใบหนุมานประสานกาย เป็นสารพวกซาโปนิน มีฤทธิ์ขยายหลอดลม ลดความดันและกล่อมประสาทด้วย จึงห้ามใช้หนุมานประสานกายกับคนที่เป็นโรคหัวใจอย่างแรง ความดันต่ำ คนที่มีไข้สูง หญิงมีครรภ์ และห้ามกินยานี้ในขณะที่เหนื่อยร้อน หรือขณะที่หัวใจเต้นแรง
เมื่อทราบถึงสรรพคุณมากมายจาก หนุมานประสานกาย นี้แล้ว ใครสนใจก็ลองหามาปลูกดูสิคะ นอกจากจะมีไว้ประดับบ้านให้ดูสวยงามแล้ว ยังจะได้เอาไว้ใช้เป็นยาสมุนไพรประจำบ้านด้วยค่ะ
แหล่งอ้างอิง
กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ หนุมานประสานกาย.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_08_12.htm
(วันที่ค้นข้อมูล : 4 พฤษภาคม 2553).
มก.วิจัยสำเร็จ สมุนไพรหนุมาน รักษาแผล สุนัข.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://pet.kapook.com/view9773.html
(วันที่ค้นข้อมูล : 4 พฤษภาคม 2553).
ระบุหอบหืดรักษาไม่หายขาดใช้หนุมานประสานกายบรรเทาได้.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://news.sanook.com/technology/technology_52207.php
(วันที่ค้นข้อมูล : 4 พฤษภาคม 2553).
หนุมานประสานกาย.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.green-x.com/news_detail.asp?pid=266
(วันที่ค้นข้อมูล : 4 พฤษภาคม 2553).
"หนุมานประสานกาย" มก.สกัดสมุนไพรรักษาสุนัข.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.khaosod.co.th/
(วันที่ค้นข้อมูล : 4 พฤษภาคม 2553).
หนุมานประสานกาย สมุนไพรแก้วัณโรคระยะแรก.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.tjorchid.com/
(วันที่ค้นข้อมูล : 4 พฤษภาคม 2553).
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
© สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
This page was generated in 0.02 seconds.
Snitz Forums 2000