สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
หน้าแรก
|
แก้ไขข้อมูล
|
หัวข้อล่าสุด
|
สมาชิก
|
ค้นหา
|
FAQ
Username:
Password:
Save Password
All Forums
รวมบทความวิชาการน่ารู้
บทความรายการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
หนุมานประสานกาย เป็นทั้งสมุนไพรและไม้ประดับ
ตั้งหัวข้อใหม่
ตอบกลับหัวข้อนี้
พรินต์ส่งให้เพื่อน
Author
Topic
admin
Forum Admin
6599 Posts
Posted - 15 Sep 2010 : 15:58:25
ปีงบประมาณ 2553
หนุมานประสานกาย เป็นทั้งสมุนไพรและไม้ประดับ
ธัญญลักษณ์ เหล็กพิมาย
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
เมื่อเอ่ยถึงชื่อนี้บางท่านอาจนึกไปถึง หนุมาน ตัวละครเอกของวรรณกรรมเรื่องเด่น รามเกียรติ์ แต่ไม่ใช่นะคะ หนุมานประสานกายที่ดิฉันจะกล่าวถึงในวันนี้เป็นพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่อยู่ในวงการไม้ประดับคงรู้จักกันดี เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นไม้ประดับยอดฮิตและเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ค่ะ ไม่เพียงแค่นั้น แต่หนุมานประสานกายยังจัดเป็นพืชสมุนไพรที่น่าสนใจอีกด้วยค่ะ
หนุมานประสานกาย หรือ สังกรณี หรือว่านอ้อยช้างตามที่ทางภาคเหนือเรียกกันนั้นเป็นไม้พุ่มแกมเถา สูง 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำใกล้พื้นดิน เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 6-8 ใบ รูปรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกเล็กสีขาวนวลออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ผล เป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก มีเนื้อ โดยรวมแล้วหาก ดูเผิน ๆ จะคล้ายใบของต้นหนวดปลาหมึกแคระ ซึ่งเป็นต้นไม้มีพิษ ดังนั้นก่อนนำไปใช้ควรถามผู้รู้ให้แน่ใจเสียก่อนนะคะว่าใช่ใบหนุมานประสานกายจริง ๆ และที่นิยมใช้คือใบที่มี 7 ใบย่อยค่ะ
สำหรับสรรพคุณอันโดดเด่น คือ ใช้กินรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็นแพ้อากาศ แพ้ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ แพ้กลิ่นต่าง ๆ กระทั่งแพ้อาหารทะเลและอื่น ๆ รวมทั้งสามารถรักษาโรคหืด ไอเรื้อรัง ไอมีเลือด ช่วยขับเสมหะและแก้เจ็บคอ อีกทั้งยังมีการนำหนุมานประสานกายไปใช้รักษาวัณโรคปอดอีกด้วย นอกจากนี้ ยังใช้รับประทานแก้ช้ำใน เจ็บหน้าอก แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ลดความดันโลหิต ใบสดยังใช้ตำพอกสมานแผล ห้ามเลือดแผลสดได้ผลดี จึงเป็นที่มาของชื่อ หนุมานประสานกาย จากสรรพคุณในหมวดหลังนี้แหล่ะค่ะ คือช่วยประสานร่างกายที่บอบช้ำให้คืนสู่ปกติ และจากสรรพคุณนี้เช่นกันทำให้ทางทีมวิจัยของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้วิจัยสกัดสารเอทานอลจากใบหนุมานประสานกาย เพื่อกระตุ้นกระบวนการหายของบาดแผลสุนัข โดยสารสกัดดังกล่าวสามารถเร่งการสร้างเนื้อเยื่อและเพิ่มการหดตัวของแผล ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นได้ด้วย
อย่างไรก็ตามเป็นธรรมดาสิ่งใดมีคุณมากก็อาจจะมีโทษแฝงอยู่ได้ สำหรับ หนุมานประสานกาย นั้นจัดได้ว่าเป็นยาแรงมีประสิทธิผลทางการรักษาเร็วและชัดเจนแต่ก็มีโทษด้วยเช่นกันค่ะ หากรับในปริมาณมากเกินไป เพราะจากการค้นคว้าของมหาวิทยาลัยมหิดลเองพบว่าสารออกฤทธิ์ต่างๆ ของใบหนุมานประสานกาย เป็นสารพวกซาโปนิน มีฤทธิ์ขยายหลอดลม ลดความดันและกล่อมประสาทด้วย จึงห้ามใช้หนุมานประสานกายกับคนที่เป็นโรคหัวใจอย่างแรง ความดันต่ำ คนที่มีไข้สูง หญิงมีครรภ์ และห้ามกินยานี้ในขณะที่เหนื่อยร้อน หรือขณะที่หัวใจเต้นแรง
เมื่อทราบถึงสรรพคุณมากมายจาก หนุมานประสานกาย นี้แล้ว ใครสนใจก็ลองหามาปลูกดูสิคะ นอกจากจะมีไว้ประดับบ้านให้ดูสวยงามแล้ว ยังจะได้เอาไว้ใช้เป็นยาสมุนไพรประจำบ้านด้วยค่ะ
แหล่งอ้างอิง
กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ หนุมานประสานกาย.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_08_12.htm
(วันที่ค้นข้อมูล : 4 พฤษภาคม 2553).
มก.วิจัยสำเร็จ สมุนไพรหนุมาน รักษาแผล สุนัข.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://pet.kapook.com/view9773.html
(วันที่ค้นข้อมูล : 4 พฤษภาคม 2553).
ระบุหอบหืดรักษาไม่หายขาดใช้หนุมานประสานกายบรรเทาได้.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://news.sanook.com/technology/technology_52207.php
(วันที่ค้นข้อมูล : 4 พฤษภาคม 2553).
หนุมานประสานกาย.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.green-x.com/news_detail.asp?pid=266
(วันที่ค้นข้อมูล : 4 พฤษภาคม 2553).
"หนุมานประสานกาย" มก.สกัดสมุนไพรรักษาสุนัข.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.khaosod.co.th/
(วันที่ค้นข้อมูล : 4 พฤษภาคม 2553).
หนุมานประสานกาย สมุนไพรแก้วัณโรคระยะแรก.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.tjorchid.com/
(วันที่ค้นข้อมูล : 4 พฤษภาคม 2553).
Topic
ตั้งหัวข้อใหม่
ตอบกลับหัวข้อนี้
พรินต์ส่งให้เพื่อน
Jump To:
Select Forum
ข่าวสารจากหน่วยประชาสัมพันธ์
ใบบอกข่าวประชาสัมพันธ์
รวมบทความวิชาการน่ารู้
บทความรายการสุขภาพดีมีสุข
บทความรายการสุขภาพดี-ชีวีมีสุข
บทความรายการวิทยาศาสตร์เพื่อประชาชน
บทความรายการวิถีสุขภาพ
บทความรายการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
บทความรายการมนุษย์กับสังคม
บทความรายการก้าวไกลในโลกกว้าง
--------------------
Home
Active Topics
Frequently Asked Questions
Member Information
Search Page
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
© สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
This page was generated in 0.03 seconds.
Snitz Forums 2000