สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
หน้าแรก
|
แก้ไขข้อมูล
|
หัวข้อล่าสุด
|
สมาชิก
|
ค้นหา
|
FAQ
Username:
Password:
Save Password
All Forums
รวมบทความวิชาการน่ารู้
บทความรายการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
ระวังอันตรายจากการทานเห็ดป่า
ตั้งหัวข้อใหม่
ตอบกลับหัวข้อนี้
พรินต์ส่งให้เพื่อน
Author
Topic
admin
Forum Admin
6599 Posts
Posted - 15 Sep 2010 : 16:02:09
ปีงบประมาณ 2553
ระวังอันตรายจากการทานเห็ดป่า
ธัญญลักษณ์ เหล็กพิมาย
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
ช่วงนี้เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว เป็นช่วงที่สรรพสิ่งในป่าเริ่มกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง รวมถึงพืชพรรณบางชนิดก็ถึงฤดูกาลเติบโต ผลิดอก ออกผล ซึ่งก็รวมถึงเห็ดป่านานาชนิดด้วย เห็ดป่าก็ถือเป็นอาหารยอดนิยมของผู้คนเช่นกัน โดยเฉพาะทางภาคอีสานและภาคเหนือ ที่จะพบว่าชาวบ้านนิยมเข้าป่าเพื่อไปหาของป่า เห็ดป่ามาขาย หรือนำมาทำอาหารรับประทานเองเป็นจำนวนมาก แต่เห็ดนั้นมีทั้งชนิดที่สามารถทานได้และชนิดที่ทานไม่ได้ เป็นเห็ดพิษ ที่สำคัญบางชนิดมีพิษร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้เลยค่ะ ดังนั้น การเก็บเห็ดเพื่อนำมาบริโภค ต้องทราบถึงแหล่งที่มาว่า เก็บมาจากที่ที่เคยมีเห็ดเกิดหรือไม่ ผู้เก็บต้องมีประสบการณ์มีความเชี่ยวชาญเรื่องชนิดและลักษณะของเห็ดป่าเป็นอย่างดี เนื่องจากทุกๆ ปีเราจะได้ยินข่าวการเสียชีวิตจากการรับประทานเห็ดพิษอยู่เสมอ รวมถึงมีผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษจากการทานเห็ดป่าอีกจำนวนมากในหลายๆ จังหวัดทั่วประเทศ
เห็ดมีพิษที่พบอยู่ทั่วโลกมีประมาณ 100 ชนิด ซึ่งจากผลการศึกษาเห็ดเมาในประเทศไทย พบว่าเห็ดเมาที่พบมากในภาคเหนือ เช่น เห็ดไข่ห่าน ภาคกลาง เช่น เห็ดหัวกรวดครีบเขียวอ่อน ภาคใต้ เช่น เห็ดหัวกรวด เห็ดขี้ควาย ภาคอีสาน เช่น เห็ดระโงกหิน เป็นต้น กลุ่มสารพิษในเห็ดแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
1.กลุ่มเห็ดที่เป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร
มักพบในเห็ดที่ขึ้นในบริเวณที่โล่งแจ้ง อาทิ เห็ดหัวกรวดครีบเขียวอ่อน แม้จะตั้งชื่อครบเขียวอ่อนแต่เมื่อสังเกตจากรูปร่างแล้วกลับไม่พบสีดังกล่าวเลย ส่วนวิธีการจำแนกทำได้โดยนำเห็ดที่บานเต็มที่แล้วมาเคราะห์ดูสปอร์ซึ่งจะพบมีสีเขียวมะกอก หากรับประทานเข้าไปจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง ในกรณีเด็กอาจเกิดภาวการณ์ขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิต
2.กลุ่มเห็ดที่เป็นพิษต่อตับอย่างรุนแรง
เช่น เห็ดในกลุ่มระโงก พบได้บ่อยทางภาคอีสานหรือเหนือของประเทศไทย เห็ดกลุ่มนี้มีทั้งชนิดที่รับประทานได้และไม่ได้ ซึ่งวิธีการจำแนกด้วยรูปลักษณ์ภายนอกทำได้ยาก โดยในเบื้องต้นถ้าเป็นเห็ดระโงกกลุ่มมีพิษจะมีขาวถึงนวลและสีน้ำตาลรวมทั้งมีลักษณะวงแหวนที่ลำต้นทั้งนี้ที่ผ่านมาทีมวิจัยได้ศึกษาไว้ชนิดหนึ่งคือ เห็ดไข่ห่าน พบว่ามีสารพิษในกลุ่ม อามาโทท็อกซิน มีฤทธิ์ขัดขวางการสร้างเซลล์โปรตีนของเซลล์ตับ ทำให้เซลล์ตับตาย และเคยเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตทั้งครอบครัวของชาวบ้านที่จังหวัดอุดรธานีมาแล้ว
3.กลุ่มเห็ดที่เป็นพิษต่อระบบประสาท
พบมากในเห็ดเมาที่ชาวบ้านเรียกกันว่า เห็ดระโงกหิน มีลักษณะคล้ายเห็ดระโงกทั่วไป บางชนิดมีสีสันที่ฉูดฉาด มีพิษก่อให้เกิดอาการชักกระตุก อาเจียนท้องเสีย น้ำลายฟูมปาก น้ำลายไหล รูม่านตามีขนาดเล็กลง ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ และเสียชีวิตได้ในที่สุด
ดังนั้น ประชาชนจึงควรระมัดระวังในการรับประทานเห็ดป่า เพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยที่อาจจะเกิดขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ ในการบริโภคเห็ดอย่างปลอดภัยทุกชนิดไม่ควรรับประทานเห็ดแบบสุก ๆ ดิบ ๆ เพื่อป้องกันเชื้อพิษที่ยังหลงเหลืออยู่ และไม่ควรบริโภคครั้งละมาก ๆ เพราะเห็ดเป็นอาหารที่ย่อยยาก มีผลต่อระบบการย่อยอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งไม่ควรกินเห็ดขณะดื่มสุรา เพราะถ้าเป็นเห็ดมีพิษจะทำให้พิษกระจายตัวเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว และเมื่อพบผู้มีอาการเมาเห็ดขึ้นมาก็ควรช่วยปฐมพยาบาลโดยการทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมา แล้วให้รีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพื่อล้างท้องโดยด่วนและควรนำตัวอย่างเห็ดที่รับประทานไปให้แพทย์ดูด้วยนะคะ
ท่านผู้ฟังคะ แม้ว่าเห็ดจะเป็นอาหารที่อร่อย และบางชนิดก็มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในกรณีเห็ดป่านั้น แม้ว่าจะหายาก มีให้กินปีละครั้ง และอร่อยถูกปากใครหลาย ๆ คน แต่ก่อนจะทานก็ต้องแน่ใจก่อนนะคะว่าเห็ดที่ท่านเก็บมากินนั้นไม่มีพิษ อีกอย่างแม้ว่าเห็ดบางชนิดท่านอาจจะรู้จักดี แต่ก็อย่ามั่นใจจนเกินไปว่าจะปลอดภัย 100 % อย่าลืมนะคะว่าเดี๋ยวนี้อากาศไม่บริสุทธิ์เหมือนสมัยก่อน แต่ปนเปื้อนไปด้วยมลพิษมากมาย สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งเราก็ไม่อาจรู้ได้ บางทีพืชบางชนิด เช่น เห็ด ก็อาจปรับตัวโดยการสร้างสารพิษขึ้นมาปกป้องตัวเอง หรืออาจมีการดูดสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในดินมาสะสมไว้ก็ได้ ดังนั้น ทางที่ดีเราก็ไม่ควรรับประทานเห็ดที่เราไม่คุ้นเคย รวมถึงของป่าชนิดอื่น ๆ ด้วยนะคะ เพราะยังไง...กันไว้ดีกว่าแก้ค่ะ
.....................................................................
แหล่งอ้างอิง
สสจ.อุบลฯ พบประชาชนกินเห็ดป่ามีพิษป่วยแล้ว 40 ราย.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9530000075713
(วันที่ค้นข้อมูล : 7 มิถุนายน 2553).
สธ.ลำปาง เตือนอย่ากินเห็ดป่า.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.innnews.co.th/local.php?nid=228146
(วันที่ค้นข้อมูล : 7 มิถุนายน 2553).
สธ.เตือนระวังคนกินเห็ดป่าอันตรายถึงตาย.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.chiangmainews.co.th/read.php?id=17556
(วันที่ค้นข้อมูล : 7 มิถุนายน 2553).
สาธารณสุขอุดร แนะนำการบริโภคเห็ดป่า.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.udonthani.com/udnews/01865.html
(วันที่ค้นข้อมูล : 7 มิถุนายน 2553).
เกษตรหนองคายแนะวิธีดูเห็ดป่ามีพิษ สีสวยกรีดมียางให้ระวัง.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.phtnet.org/news/view-news.asp?nID=710
(วันที่ค้นข้อมูล : 7 มิถุนายน 2553).
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะกินเห็ดป่าให้ปลอดภัย.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://news.cedis.or.th/detail.php?id=255#9001;=en&group_id=1
(วันที่ค้นข้อมูล : 7 มิถุนายน 2553).
เมาเห็ด.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php
(วันที่ค้นข้อมูล : 7 มิถุนายน 2553).
อาหารเป็นพิษจากเห็ดป่า (Mushroom poisoning).[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://epid.moph.go.th/Annual/Annual48/Part1/52-Mushroom%20%20poisoning.doc
(วันที่ค้นข้อมูล : 7 มิถุนายน 2553).
แพทย์ เตือน เมาเห็ด อย่าสวนทวารล้างท้อง ส่งผลร้ายอาจตายได้.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.ocpb.go.th/show_news.asp?id=251
(วันที่ค้นข้อมูล : 7 มิถุนายน 2553).
''เห็ดเมา'' พิษร้ายในหน้าฝน.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.rakbankerd.com/agriculture/page?id=1275&s=tblplant
(วันที่ค้นข้อมูล : 7 มิถุนายน 2553).
แพทย์เตือนประชาชนระวังเห็ดพิษช่วงหน้าฝน ทุกปีจังหวัดน่านพบผู้เสียชีวิตจากการรับประทานเห็ดพิษปีละ 2 - 4 ราย.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.prdnorth.in.th/ct/news/viewnews.php?ID=100527112827
(วันที่ค้นข้อมูล : 7 มิถุนายน 2553).
เตือนภัยชาวบ้าน กินเห็ดพิษอาจถึงตาย!!.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.chiangraifocus.com/webboard/view.
php?Qid=2729&cat=1 (วันที่ค้นข้อมูล : 7 มิถุนายน 2553).
สธ.เตือนกินเห็ดป่าระวังถึงตาย.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.bbtvnewmedia.com/news/news_thailand_
detail.aspx?c=2&p=376&d=86272รอบโลก/ขอบฟ้ากว้าง/31158/ (วันที่ค้นข้อมูล : 7 มิถุนายน 2553).
Topic
ตั้งหัวข้อใหม่
ตอบกลับหัวข้อนี้
พรินต์ส่งให้เพื่อน
Jump To:
Select Forum
ข่าวสารจากหน่วยประชาสัมพันธ์
ใบบอกข่าวประชาสัมพันธ์
รวมบทความวิชาการน่ารู้
บทความรายการสุขภาพดีมีสุข
บทความรายการสุขภาพดี-ชีวีมีสุข
บทความรายการวิทยาศาสตร์เพื่อประชาชน
บทความรายการวิถีสุขภาพ
บทความรายการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
บทความรายการมนุษย์กับสังคม
บทความรายการก้าวไกลในโลกกว้าง
--------------------
Home
Active Topics
Frequently Asked Questions
Member Information
Search Page
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
© สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
This page was generated in 0.06 seconds.
Snitz Forums 2000