สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
หน้าแรก
|
แก้ไขข้อมูล
|
หัวข้อล่าสุด
|
สมาชิก
|
ค้นหา
|
FAQ
Username:
Password:
Save Password
All Forums
รวมบทความวิชาการน่ารู้
บทความรายการวิถีสุขภาพ
ประโยชน์ของดนตรี กับพัฒนาการเจ้าตัวน้อย
ตั้งหัวข้อใหม่
ตอบกลับหัวข้อนี้
พรินต์ส่งให้เพื่อน
Author
Topic
admin
Forum Admin
6599 Posts
Posted - 13 Jan 2021 : 11:24:22
ปีงบประมาณ 2563
ประโยชน์ของดนตรี กับพัฒนาการเจ้าตัวน้อย
อดิษา บุตรแสนโคตร
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สวัสดีคะท่านผู้ฟังรายการทุกท่าน เสียงดนตรีบรรเลง แว่วเสียงเพลงผ่อนคลายสบายใจ
เมื่อพูดถึงดนตรี เสียงเพลง หลายคนใช้การฟังเพลงในการคลายเครียด ผ่อนคลายอารมณ์ บำบัดความรู้สึก การฟังดนตรีนอกจากจะช่วยให้ผ่อนคลายได้แล้วยังช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กและทารกในครรภ์ รวมถึงมีส่วนช่วยในการฝึกสมาธิให้กับเด็ก ๆ ได้ด้วย
ดนตรีกับพัฒนาการทารกในครรภ์ มีรายงานการวิจัยว่าเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ทารกจะได้ยินเสียงพูดทางหน้าท้องของแม่ ทารกสามารถแยกความแตกต่างของระดับเสียงได้ โดยเฉพาะเพลงคลาสสิกทารกจะชอบมาก โดยฟังจากการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นขณะฟังเพลง แค่เปิดเพลงคลาสสิกแล้วใช้หูฟังกระตุ้นที่ท้อง ครั้งละ
10-15 นาที
สำหรับเด็กอายุ 0-3 ปี ช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่มีพัฒนาการสมองที่มีความสำคัญมาก มีงานวิจัยพบว่า ดนตรีมีส่วนช่วยในการพัฒนา IQ และ EQ ได้ด้วยกิจกรรมดนตรีบำบัด เช่น การร้องเพลงให้ลูกฟัง โดยเฉพาะเพลงที่มีจังหวะนุ่มนวล อย่างเพลงกล่อมเด็กที่ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น และได้สัมผัสใกล้ชิดกับแม่ นอกจากนั้นขณะที่แม่ไกลเปลขณะร้องเพลงไปด้วยจะยิ่งสร้างความอบอุ่นให้กับลูก เพราะเด็กจะสัมผัสได้จากจังหวะไกวเปล สำหรับเพลงที่ควรเลือกให้เด็กฟังอาจเป็นเพลงคลาสสิกหรือเพลงสมัยใหม่ก็ได้ แต่ควรเลือกบทเพลงที่มีท่วงทำนองที่ฟังแล้วสบาย รู้สึกผ่อนคลาย และการเล่นของเล่นที่มีเสียงอย่างของเล่นเขย่าแล้วเกิดเสียง แล้วให้ลูกโยกตัวตามเสียงที่เคาะเป็นจังหวะ จะมีส่วนช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมือของลูกได้ด้วย
ดนตรีกับสมาธิเด็ก สำหรับเด็กวัย 3 ขวบ ขึ้นไปเป็นวัยที่เด็กเริ่มใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้บ้าง อาจเริ่มให้เรียนดนตรี เช่น เปียโน กลอง ไวโอลิน โดยอาจสังเกตจากความสนใจเด็กว่าชอบเครื่องดนตรีประเภทไหน เพราะการเล่นดนตรีจะช่วยให้เด็กได้ฝึกสมาธิและความจำ รวมถึงประสาทสัมผัสมือ ตา และสมอง ไปพร้อมๆ กัน
สำหรับการเลือกดนตรีให้ลูก เด็กแต่ละคนจะมีความชอบ หรือมีสภาวะอารมณ์ที่แตกต่างกัน การเลือกดนตรีจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความชอบ และเลือกให้เหมาะสมกับเด็ก โดยเด็กที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย
ควรเลือกเพลงที่ฟังแล้วเย็นๆ ฟังสบาย เช่น เพลงบรรเลง เพลงไทยซ้ำ ๆ ส่วนเด็กที่ค่อนข้างซึมเศร้าไม่ค่อยเบิกบาน ร้องให้บ่อย นอนไม่หลับหรือมีการหลับมากผิดปกติ มีการคิดหรือเคลื่อนไหวช้า เพลงที่เลือกควรเป็นเพลงที่มีจังหวะครื้นเครง เช่น มีลักษณะของจังหวะสั้นหรือเร็ว
เพลงเต้นสนุก ๆ และสำหรับเด็กที่มีสมาธิสั้น เด็กกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เด็กที่มีสมาธิสั้นจากความบกพร่องของพันธุกรรม เป็นความบกพร่องทางสมอง มีอาการขี้ลืม เหม่อลอย ชอบทำของหาย ไม่เข้าใจประโยคคำสั่งยาว ๆ และเด็กสมาธิสั้นอีกกลุ่ม เด็กไฮเปอร์เอ็กทีฟ มีอาการไม่ชอบอยู่นิ่ง หุนหันพันแล่น พูดคุยมากเกินไป ขาดความอดทน ทำการบ้านไม่เสร็จ เด็กกลุ่มสมาธิสั้นนี้ สามารถฝึกสมาธิให้ยาวขึ้นได้ด้วยการเปิดเพลง ร้องเพลง เรียนดนตรี วันละ 10-20 นาที ทำบ่อยๆ จึงจะเห็นผล
ดนตรีมีประโยชน์กับชีวิตของเราทุกช่วงวัย อย่าลืมนำประโยชน์ของดนตรีไปเป็นส่วนช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็กๆ กันนะคะ สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ
แหล่งอ้างอิง
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). ดนตรีบำบัดสร้างสมดุลกายใจ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.thaihealth.or.th.
สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563.
Topic
ตั้งหัวข้อใหม่
ตอบกลับหัวข้อนี้
พรินต์ส่งให้เพื่อน
Jump To:
Select Forum
ข่าวสารจากหน่วยประชาสัมพันธ์
ใบบอกข่าวประชาสัมพันธ์
รวมบทความวิชาการน่ารู้
บทความรายการสุขภาพดีมีสุข
บทความรายการสุขภาพดี-ชีวีมีสุข
บทความรายการวิทยาศาสตร์เพื่อประชาชน
บทความรายการวิถีสุขภาพ
บทความรายการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
บทความรายการมนุษย์กับสังคม
บทความรายการก้าวไกลในโลกกว้าง
--------------------
Home
Active Topics
Frequently Asked Questions
Member Information
Search Page
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
© สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
This page was generated in 0.04 seconds.
Snitz Forums 2000