สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
หน้าแรก
|
แก้ไขข้อมูล
|
หัวข้อล่าสุด
|
สมาชิก
|
ค้นหา
|
FAQ
Username:
Password:
Save Password
All Forums
รวมบทความวิชาการน่ารู้
บทความรายการวิถีสุขภาพ
มารู้จักทักษะ EF ทั้ง 9 ด้านกันค่ะ ตอนที่ 2
ตั้งหัวข้อใหม่
ตอบกลับหัวข้อนี้
พรินต์ส่งให้เพื่อน
Author
Topic
admin
Forum Admin
6599 Posts
Posted - 13 Jan 2021 : 11:28:03
ปีงบประมาณ 2563
มารู้จักทักษะ EF ทั้ง 9 ด้านกันค่ะ ตอนที่ 2
อดิษา บุตรแสนโคตร
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มาหวิทยาลัยบูรพา
สวัสดีคะท่านผู้ฟังทุกท่าน หลังจากท่านผู้ฟังได้รู้จักทั้ง 9 ด้าน กันไปแล้วในตอนที่ 1 วันนี้เรามาทำความเข้าใจเพิ่มเติมกับการพัฒนา EF (Executive Function) ทักษะการคิดเพื่อชีวิตสำเร็จ เกี่ยวกับประโยชน์ และผลกระทบจากการขาดทักษะ EF กันบ้างคะ เริ่มที่ทักษะ EF กับการเรียนรู้กันก่อนคะ
EF สำคัญกับการเรียนรู้อย่างไร มีงานวิจัยระบุว่า เด็กที่มี EF ที่ดีจะมีความพร้อมในการเรียนรู้มากกว่าเด็กที่มี EF ไม่ดี และสามารถประสบความสำเร็จได้ในการเรียนรู้ทุกระดับตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัยและในการทำงาน ซึ่งทักษะ EF ยังเป็นตัวบ่งบอกถึงความพร้อมในการเรียนมากกว่าสติปัญญาหรือ IQ และส่งผลอย่างยิ่งต่อทักษะคณิตศาสตร์และการอ่าน โดยเด็กที่มี EF ที่ดี จะมีความจำที่ดี มีสมาธิจดจ่อกับงานที่ทำอย่างต่อเนื่องจนงานเสร็จและได้ผลลัพธ์ที่ดี รู้จักอดทนรอคอยที่จะทำหรือพูดในเวลาที่เหมาะสม รู้จักยับยั้งควบคุมตนเองไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม สามารถคาดการณ์ผลของการกระทำได้ มีความคิดยืดหยุ่นเปลี่ยนความคิดได้เมื่อเงื่อนไขและสถานการณ์เปลี่ยนไป รู้จักประเมินตนเองนำจุดบกพร่องมาปรับปรุงการทำงานของตนให้ดีขึ้น รู้จักขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็นมีความเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง สามารถทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ไม่รบกวนผู้อื่น และมีเป้าหมายที่ชัดเจน
สำหรับเด็กที่มีปัญหาความบกพร่องในทักษะ EF มักเกิดปัญหาด้านการยับยั้ง ด้านการเปลี่ยนความคิดยืดหยุ่น ด้านการควบคุมอารมณ์ ปัญหาความจำขณะทำงาน และการวางแผนและการจัดการ ดังนี้
1. ปัญหาการยับยั้งชั่งใจ เช่น ไม่รู้ว่าพฤติกรรมของตนเองกระทบหรือรบกวนต่อผู้อื่น มีพฤติกรรมอยู่
ไม่สุข กระสับกระส่าย วอกแวกง่ายขณะทำกิจกรรม และหุนหันพลันแล่น ขาดการยับยั้งชั่งใจ
2. ปัญหาด้านการเปลี่ยนความคิดยืดหยุ่น เช่น มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ ๆ อารมณ์เสียเมื่อมีการเปลี่ยนแผนหรือเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน และใช้เวลานานกว่าจะรู้สึกวางใจในสถานที่ใหม่หรือสิ่งแวดล้อมใหม่
3. ปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ เช่น ระเบิดอารมณ์โกรธอย่างรุนแรง โกรธฉุนเฉียวด้วยเหตุผลเพียงเล็กน้อย และเมื่อผิดหวังจะเสียใจเป็นเวลานานหว่าเด็กคนอื่น
4. ปัญหาความจำขณะทำงาน เช่น เมื่อสั่งให้ทำงาน 2 อย่าง เด็กสามารถจำได้เพียงคำสั่งแรกหรือคำสั่งสุดท้ายเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมทำผิดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ แม้เคยสอนหรือช่วยเหลือไปแล้ว และบางครั้งลืมว่าตัวเองทำอะไรขณะที่ทำกิจกรรมนั้นอยู่
5. ปัญหาด้านการวางแผนจัดการ เช่น ต้องบอกให้เริ่มลงมือทำงาน แม้ว่าเด็กจะเต็มใจทำ ไม่สามารถหาเสื้อผ้า รองเท้า ของเล่น หรือหนังสือเจอ แม้จะชี้อย่างเฉพาะเจาะจงแล้ว ทิ้งของเกลื่อนกลาด แม้ว่าจะได้รับการสอนหรือแนะนำแล้วก็ตาม และไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ แม้ว่าจะได้รับการแนะแนวทางแล้วก็ตาม
ฟังดูแล้วก็ลองนำข้อมูลวันนี้ไปสังเกตลูก ๆ หรือเด็กน้อยในบ้านดูนะคะ ว่ายังขาด EF ในด้านในบ้าง
เพื่อจะได้ช่วยเด็ก ๆ ในการพัฒนาทักษะ EF ทักษะการคิดเพื่อชีวิตสำเร็จ เพื่อให้เด็กมีทักษะที่ดีและมีความสำเร็จในชีวิตต่อไปคะ สำหรับวันนี้สวัสดีคะ
แหล่งอ้างอิง
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). ฝึก EF พัฒนาสมองลูกน้อย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.thaihealth.or.th.
สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563.
Topic
ตั้งหัวข้อใหม่
ตอบกลับหัวข้อนี้
พรินต์ส่งให้เพื่อน
Jump To:
Select Forum
ข่าวสารจากหน่วยประชาสัมพันธ์
ใบบอกข่าวประชาสัมพันธ์
รวมบทความวิชาการน่ารู้
บทความรายการสุขภาพดีมีสุข
บทความรายการสุขภาพดี-ชีวีมีสุข
บทความรายการวิทยาศาสตร์เพื่อประชาชน
บทความรายการวิถีสุขภาพ
บทความรายการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
บทความรายการมนุษย์กับสังคม
บทความรายการก้าวไกลในโลกกว้าง
--------------------
Home
Active Topics
Frequently Asked Questions
Member Information
Search Page
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
© สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
This page was generated in 0.05 seconds.
Snitz Forums 2000